กิจกรรม : กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง
เป้าหมาย - เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักร่ างกายและจิตใจมากขึ้นว่าทำงานกั นอย่างไร
- เพื่อให้เด็กมีสมาธิพร้อมที่ จะเรียน
- มีสร้างความคิดสร้างสรรค์
- อธิบายผลงานของตนเองได้
- เพื่อส่งเสริมการจิ นตนาการของเด็ก
กระบวนการดำเนินกิจกรรม
1. หลังจากที่เคารพธงชาติ ครูพานักเรียนเดินกำกับสติ และพาเก็บใบไม้บริเวณทางเดิ นไปอาคารมัธยมเมื่อถึงห้องพานั่ งเป็นวงกลม
2. ทำสมาธิ 3 นาที โดยให้ทุกคนค่อยๆหลับตาลง หายใจเข้าลึกๆและหายใจออกยาวๆ 5 ครั้ง สังเกตลมหายใจที่ปลายจมูก ข้างที่ชัดเจนมากที่สุด กลับมารู้ลมหานใจของตนเอง รู้ในการพูดและการฟัง
3. ครูแจกกระดาษ A4 ให้ทุกคน โดยวิธีการส่งต่อกันซึ่งก่อนที่ จะรับทุกคนจะไหว้ขอบคุณเพื่ อนอย่างนอบน้อมจนครบทุกคน
4. ครูอ่านบทความ “กวาดใบไม้เพื่อรู้จักตนเอง”
"อากาศในสวนธรรมเช้านี้ช่างฉ่ ำเย็น ด้วยหยาดฝนเม็ดสุดท้ายเพิ่งหยุ ดไป
วันนี้เป็นวันขี้เกียจของฉัน จึงได้โอกาสมาเดินเล่น
เมื่อก้าวย่างผ่านสะพานแห่งสติ เข้าสู่ธรรมศาลา ก็ได้ยินเสียงกวาดใบไม้ทั่วบริ เวณ
ฉันจับไม้กวาดแล้วเริ่มกวาด … ร่ายกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
กวาด…กวาด…กวาด
จิตหนีไปคิดก็รู้ ความคิดดับไป จิตเบิกบาน
จิตบางครั้งก็เป็นคนดู บางครั้งก็กลายเป็นคนคิด
บางครั้งความคิดก็ยาวกว่าจะรู้ ทัน
เมื่อความคิดทำงาน
ใบไม้บางใบ … กวาดครั้งเดียวก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … เกาะกับพื้นไม้ที่เปียกชุ่ม …กวาดครั้งที่สองก็ไปรวมกัน
ใบไม้บางใบ … ติดแน่น ถึงแม้กวาดด้วยไม้กวาดทางมะพร้ าว ก็ไม่ยอมออก
กิเลสก็เช่นเดียวกัน บางตัวออกง่าย บางตัวออกยาก บางตัวต้องกระทุ้ง บางตัวแค่สะกิด เราจึงต้องมีเครื่องมือหลายชนิ ดให้เหมาะกับกิเลสแต่ละแบบ และหากเรายังไม่ยอมหยุดเดิ นและยังคงเป็นผู้ดู กิเลสทั้งหมดต้องหลุดออกไปแน่ นอน เฉกเช่นเดียวกับใบไม้บนลานนี้
จิตที่เป็นคนดู… บางครั้งก็เห็นความรู้สึ กทางกายบ้าง ทางใจบ้าง
บางครั้งรู้สึกท้อแท้ เมื่อเผลอมองลานไม้อันกว้างใหญ่ ที่มีใบไม้น้อยใหญ่ปกคลุม
เมื่อจิตมีความอยากให้เสร็จเร็ว พอตาเห็นลานกว้างเต็มไปด้ วยใบไม้ จิตคิดว่าลานกว้างเหลือเกิน จะเสร็จไหม? จึงเกิดความรู้สึกท้อแท้ เมื่อจิตมีความอยาก แล้วไม่ได้อย่างที่อยาก ...จิตก็ทุกข์
บางครั้งรู้สึกหงุดหงิดใจ เมื่อแขนชักจะเริ่มเมื่อย
เมื่อทุกขเวทนาทางกายแทรกตัวเข้ ามาในแขนตอนกำลังกวาด เกิดความรู้สึกหงุดหงิด…เป็นทุ กข์ทางใจ
บางครั้งรู้สึกปลื้ม ที่ได้เห็นลานกว้างโล่ งปราศจากใบไม้
เมื่อตาเห็นลานโล่ง ความคิดปรุงว่าได้ทำเสร็จแล้ วและเป็นประโยชน์ เกิดความรู้สึกแช่มชื่นในจิต… เป็นกุศล
กุศล อกุศล เวียนกันเกิด ผลัดกันดับ
ร่างกายถูกรู้ กับจิตใจที่เป็นคนดู เขาอยู่คนละส่วนกัน
เพียงแค่กวาดใบไม้หนึ่งชั่วโมง
ฉันได้รู้จักร่างกายและจิ ตใจมากขึ้นว่าเขาทำงานกันอย่ างไร
เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว จิตเป็นคนดู
.. นี่คงเป็นความหมายของคำว่า “กายเคลื่อนไหว ใจตั้งมั่น” ที่ได้ยินกันอยู่บ่อยๆในเสถี ยรธรรมสถาน"
5. ครูกระตุ้นด้วยถาม จากที่นักเรียนได้ฟังบทความข้ างต้นนี้นักเรียนมีความรู้สึ กอย่างไรและการที่เราเก็บใบไม้ และฟังบทความที่ครูอ่านมี ความแตกต่างกันอย่างไรโดยการเขี ยนหรือวาดภาพสื่อความรู้สึ กลงในกระดาษที่แจก
6. ให้นักเรียนอ่านสิ่งที่ตนเองเขี ยนให้เพื่อนในห้องฟังจนครับทุ กคน
7. ครูกระตุ้นด้วยคำถามว่า จากกิจกรรมนี้นักเรียนได้เรี ยนรู้อะไรบ้างจากกิจกรรมนี้บ้ างโดยให้นักเรียนบอกทีละคนจนครั บทุกคน
8. ให้นักเรียนมาอยู่กับตั วเองมาอยู่กับลมหายใจของตัวพร้ อมที่จะเรียนในวิชาต่อไป
สะท้อนกิจกรรม
_ครูท๊อบเตรียมตัวก่อนทำกิ จกรรมได้ดี มีการวางแผน เข้ามาพูดคุยกันล่วงหน้า
_กิจกรรมเหมาะกับเด็กมัธยม
_เวลาเหมาะสม และสร้างบรรยากาศด้วยการEmpower ตลอดเวลาที่มีการปฏิสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น